+66 2840-7279, 7379, 7479
สเตนเลสคืออะไร
“สเตนเลส” หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กในกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อนสูง สเตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลักประมาณ 10.5 % หรือมากกว่าทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์(chromium oxide film : CrO2 หรือเรียกว่า passive film) ที่มองไม่เห็นเกาะติดแน่นอยู่ที่ผิวหน้าทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการกัดกร่อน ฟิล์มปกป้องนี้จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น ถ้าฟิล์มที่ผิวหน้านั้น ถูกทำลายไม่ว่าจากแรงกล สารเคมีหรือออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศ แม้จำนวนน้อยนิดจะเข้าทำปฏิกิริยากับโครเมียม สร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ทดแทนขึ้นใหม่ด้วยตัวมันเอง
ปัจจุบันสเตนเลสมีอยู่มากกว่า 60 ชนิด ทั้งนี้เนื่องจากสเตนเลสสามารถปรับปรุงคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อนและคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการให้สูงขึ้นได้โดยการเพิ่มส่วนผสมของโครเมียมและเพิ่มธาตุอื่น ๆ เช่น โมลิบดิบนัม นิกเกิล และไนโตรเจนเข้าไป
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใคร เช่น ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะหรือวัสดุอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการเชื่อมและการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด จึงทำให้สเตนเลสเป็นโลหะที่ทรงคุณค่า คุณสมบัติและประโยชน์ที่ไร้ขีดจำกัด
ใช้สเตนเลสดีอย่างไร
การที่ผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า จะตัดสินใจเลือกใช้วัสดุในการประกอบชิ้นงานหรือแม้กระทั่งผู้บริโภคเองที่จะเลือกซื้อวัสดุมาใช้ในบ้าน เราควรที่จะศึกษาก่อนว่าคุณสมบัติอะไรที่เราต้องการใช้งาน เช่นเดียวกันกับการเลือกซื้อเลือกใช้สเตนเลส เราควรทราบว่าใช้สเตนเลสแล้วดีอย่างไร
ไม่ว่าจะต้องการความสวยงาม ความทนทาน อายุการใช้งานที่ยาวนาน ง่ายต่อการประกอบ ใช้ในที่อุณหภูมิสูงมากหรือต่ำมาก ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีความต้านทานการกัดกร่อนสูง เงางาม มีสีให้เลือกหลากหลาย สเตนเลสน่าจะเป็นวัสดุที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ทั้งหมด
ลำดับ |
ข้อดี |
รายละเอียด |
1 |
ทนทานต่อการกัดกร่อน |
สเตนเลสทุกเกรดมีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง แต่จะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสมไม่สูง สามารถต้านทานการกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงสามารถต้านทานการกัดกร่อนในกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศ คลอไรด์ ได้เกือบทั้งหมด |
2 |
ง่ายต่อการบำรุงรักษาและทำความสะอาด |
สเตนเลสทำความสะอาดได้ง่าย และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา หรือเสียเวลากับการที่จะต้องมาทาสีใหม่ |
3 |
ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ |
สเตนเลสสามารถทนความร้อน ความเย็น และการเปลี่ยนอุณหภูมิฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนไฟ ทำให้มีการนำสเตนเลสไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง |
4 |
ง่ายต่องานประกอบหรือแปรรูป |
สเตนเลสส่วนใหญ่สามารถตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตกแต่งทางกล ลากขึ้นรูป ขึ้นรูปนูนต่ำได้ง่าย ด้วยรูปร่าง สมบัติ และลักษณะต่าง ๆ ของสเตนเลส ช่วยให้ผู้ผลิต นักออกแบบ หรือผู้ใช้สามารถนำสเตนเลสไปประกอบกับวัสดุอื่น ๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้กับสเตนเลส หรือโครงสร้างภายนอกอาคารที่ใช้สเตนเลสยึดกับกระจก ล้วนแต่พบเห็นได้ทั้งนั้น |
5 |
ความคงทน |
คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของสเตนเลส คือ ความแข็งแกร่ง ทนทาน สเตนเลสสามารถเพิ่มความคงทนได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความหนา ลดน้ำหนัก และประหยัดราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนและยังคงความทนทานสูง |
6 |
ความสวยงาม |
ความเงางามของตัวสเตนเลสเอง หากนำไปหุ้มเสาภายในอาคาร ตกแต่งบานประตูลิฟท์ อุปกรณ์ประกอบอาหาร หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ก็ทำให้บ้านดูสวยงาม สะอาดและน่าอยู่อีกด้วย นอกจากนั้นสเตนเลสยังมีสีพิ้นผิวให้เลือกมากมาย เช่น สีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และสีดำ เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้สเตนเลสได้ อย่างมากมาย |
7 |
ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
สเตนเลสเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบ 100% และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม |
8 |
ความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ |
สเตนเลสเป็นโลหะที่มีความเป็นกลาง ไม่ดูดซึมรสใด ๆ ทนต่อกรด ด่างและความร้อนได้ดีเยี่ยม การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวสเตนเลสในบ้านเรือน หรืออาหารกระป๋องที่บรรจุในกระป๋องสเตนเลสจึงให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ |
วิธีการทำความสะอาดสเตนเลส
เมื่อใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของใด ๆ ก็ตามมักจะเกิดรอยคราบ รอยสกปรกติดอยู่ สเตนเลสก็เหมือนวัสดุทั่วไปที่เมื่อนำมาใช้จะเกิดคราบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคราบอาหาร คราบนิ้วมือ คราบตกค้างจากสารทำความสะอาด หรือการใช้สเตนเลสในสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น แถบพื้นที่ชายฝั่งทะเล สิ่งเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดคราบสกปรก ความหม่นของผิว หรือการกัดกร่อน ดังนั้นการจะทำความสะอาดสเตนเลสควรคำนึงถึง
1. ต้นเหตุของการเกิดคราบหรือรอยสกปรก
2. อุปกรณ์ทำความสะอาด
3. สารทำความสะอาด
4. สภาพแวดล้อม
ลักษณะรอยเปื้อน |
วิธีการทำความสะอาด |
น้ำยาทำความสะอาดสเตนเลส |
รอยนิ้วมือ |
ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นจนสะอาด จากนั้นเช็ดให้แห้ง |
สเปรย์ทำความสะอาดสเตนเลส Rhino / ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
น้ำมัน คราบน้ำมัน |
ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่น ๆ |
สเปรย์ทำความสะอาดสเตนเลส Rhino / ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
ฉลากและสติ๊กเกอร์ |
แช่ ในน้ำสบู่ร้อนๆ ก่อนจะลอกฉลากและทำความสะอาดกาวที่ติดอยู่ออกด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ ( Methylated Spirit) หรือน้ำมันเบนซิน จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก ล้างออกอีกทีด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม |
สเปรย์ทำความสะอาดสเตนเลส Rhino / ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
สารแทนนิน จากชาหรือกาแฟ |
ล้าง ด้วยน้ำร้อนผสมโซดาซักผ้า (โซเดียมไบคาร์บอเนต) จากนั้นล้างตามด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก ล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม |
สเปรย์ทำความสะอาดสเตนเลส Rhino / ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
สี |
ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปลงไนล่อนนุ่ม ๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้ง |
ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน |
ทาครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสเตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง |
ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
รอยน้ำ ตะกรัน |
รอยที่เห็นชัดสามารถลดเลือนได้ด้วยการแช่ไว้ในน้ำส้มสายชู 25% หรือกรดไนตริก 15% จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก และล้างออกอีกครั้งให้สะอาดด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม |
ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
คราบสนิม |
แช่ส่วนที่ขึ้นสนิมในน้ำอุ่นผสมสารละลาดกรดไนตริกในสัดส่วน 9:1 เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือทาพื้นผิวที่ขึ้นสนิมด้วยสารละลายกรดออกซาลิก ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้งหรือ ในกรณีของคราบสนิมที่ติดทนและยากต่อการกำจัด อาจต้องใช้เครื่องจักรช่วยขัดทำความสะอาด |
ครีมขัดเงาสเตนเลส Rhino |
วิธีการดูแลรักษาสเตนเลส
การดูแลรักษาสเตนเลส |
สิ่งที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวสเตนเลส |
|
|